วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ นวัตกรรมการศศึกษา

ชื่อเรื่อง การปรับปรุงการสอนรายวิชาการวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติในชั้นเรียน
ตามแบบจำลองคุณภาพ
ผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา กรุดทอง
สถานที่ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปีที่วิจัย พ.ศ.2550
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://researchers.in.th/file/classroom/kridsadachula.doc

บทคัดย่อ

ผู้วิจัยเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาการวิจัยในชั้นเรียนแก่นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครูของสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ในการสอนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2549 นักศึกษาครูเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสาขาอื่น มาศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครูเพื่อให้มีพื้นความรู้ทางการศึกษาและสามารถรับใบประกอบวิชาชีพครูได้ รายวิชานี้ต้องการให้นักศึกษาครูศึกษาเกี่ยวกับ(ก)หลักการแนวคิดเกี่ยวกับวิจัยในชั้นเรียน และ (ข) การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการฝึกปฏิบัติการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนตามแบบจำลองคุณภาพ มาใช้เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะการวิจัยแก่นักศึกษาครู โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาครูสามารถปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนได้คนละ 1 เรื่อง การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2/2549 จำนวน 1 ภาคเรียน
ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการและแบบจำลองคุณภาพมาประยุกต์ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ โดยมี กิจกรรมการวิจัยคือ (1)การค้นหาทักษะที่ต้องการพัฒนา ประกอบด้วยการศึกษาเอกสารหลักสูตร เอกสารคำอธิบายรายวิชาและตารางสอนของรายวิชา (2)การศึกษาสภาพปัจจุบันผู้เรียน ประกอบด้วยการศึกษาใบรายงานผลการเรียน และเอกสารการมอบตัวของนักศึกษา (3)การออกแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วยการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการวิจัยในชั้นเรียน (4)การวางแผนการสอน ประกอบด้วยการวางแผนวันเวลาสอน วัตถุประสงค์การสอน สาระการสอน กิจกรรมการสอนและสื่อการสอน (5)การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วยกิจกรรมการบรรยาย 2 ครั้ง การทดลองปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนจริง และการนำเสนอและรับการวิพากษ์ผลงานวิจัย 1 ครั้ง (6)การตรวจสอบผลการเรียน ประกอบด้วยการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน ด้วยแบบสำรวจความคิดเห็นปลายเปิดทั้งก่อนและภายหลังการทำวิจัย และ (7)การจัดทำข้อเสนอในการสอนครั้งต่อไป ประกอบด้วยการตรวจสอบผลการใช้นวัตกรรมการวิจัยและผลงาน วิจัยในชั้นเรียน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษา นักศึกษาครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน สามารถปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนและนำเสนอผลงานการวิจัยในชั้นเรียนได้คนละ 1 เรื่อง และ (2) ผลการพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการสอนของอาจารย์ผู้สอนรายวิชาการวิจัยในชั้นเรียน อาจารย์ผู้สอนรายวิชานี้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสอนรายวิชาวิจัยในชั้นเรียน ในด้านแผนการเรียนและโครงการสอน ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้และผลลัพธ์ทางการสอน

รายการอ้างอิง
ก.กฤษดา กรุดทอง การพัฒนารูปแบบใหม่ของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ รายงานการ วิจัย อัดสำเนา 2547
ข.กิตติพร ปัญญาภิญโญผล การวิจัยเชิงปฏิบัติการ:แนวทางสำหรับครู อัดสำเนา 2549
ค.ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล การวิจัยในชั้นเรียน สนพ.แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2548 ง.วีระพงษ์ เฉลิมจีระรัตน์(แปล) การแก้ปัญหาแบบคิวซี สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น